เมนู

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณ
นั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อสุข.
จบ นตุมหากสูตรที่ 1

นตุมหากวรรคที่ 4



อรรถกถานตุมหากสูตรที่ 1



นตุมหากวรรค นตุมหากสูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปชหถ ได้แก่จงละด้วยการละฉันทราคะ. ในวัตถุมีหญ้า
เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้น มีกระพี้ภายใน
มีแก่น (แข็ง) ภายนอก ชื่อว่า หญ้า ต้นตะเคียน ต้นสาละ และต้นมะหาด
เป็นต้น มีแก่นภายใน มีกระพี้ภายนอก ชื่อว่า ไม้ กิ่งไม้ที่ยื่นออกไป
เหมือนแขนต้นไม้ ชื่อว่า สาขา ใบตาลและใบมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่า
ปลาสะ.
จบ อรรถกถานตุมหากสูตรที่ 1

2. นตุมหากสูตรที่ 2



ว่าด้วยการละขันธ์ 5 มิใช่ของใคร



[73] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอ
ทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่
ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลาย
ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
วิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้
แล้วจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.
จบ นตุมหากสูตรที่ 2

อรรถกถานตุมหากสูตรที่ 2



นตุมหากสูตรที่ 2

เว้นผู้ทำการตรัสรู้ด้วยอุปมา ก็ตรัสตามอัธยาศัย.
จบ อรรถกถานตุมหากสูตรที่ 2

3. ภิกขุสูตรที่ 1



ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง



[74] กรุงสาวัตถี . ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออก
จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.